ปัญหาครอบครัวอย่างหนึ่งของคู่แต่งงานที่มีลูกน้อย คือการเลี้ยงลูกอย่างตามใจจนเกินไป ทำให้เด็กที่ถูกตามใจจากพ่อแม่กลายเป็นเด็กสปอยล์ หรือเรียกได้ว่าการที่พ่อแม่ สปอยล์ลูก (Spoil)
คือการทำให้เด็กเสียคน หรือตามใจลูกจนเกินไปนั่นเอง คุณพ่อคุณแม่อาจมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่จะส่งผลร้ า ย ต่อเด็กได้ในอนาคต วันนี้เราขอพาส่องว่ามีพฤติกรรมแบบไหนบ้างที่พ่อแม่
รังแกฉัน ทำร้ า ยลูกน้อยแบบไม่รู้ตัว
พฤติกรรมพ่อแม่แบบไหนที่เข้าข่าย สปอยล์ลูก
1.แสดงพฤติกรรมแย่ ๆ ให้ลูกเห็น
เด็กเล็ก ๆ มักจะมีพฤติกรรมการลอกเลียนแบบคนใกล้ตัว ดังนั้นถ้าพ่อแม่ทำไม่ดีต่อหน้าลูก ก็จะทำให้ลูกเลียนแบบนิสัยไม่ดีของพ่อแม่ไปได้ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นคำพูดหรือการแสดงออกหากไม่
อยากให้ลูกทำไม่ดี ก็ไม่ควรทำให้ไม่ว่าจะอยู่ต่อหน้าหรือลับหลังลูก เช่น ห้ามลูกไม่ให้กินขนมกรุบกรอบ แต่คุณก็ชอบซื้อขนมเหล่านั้นมากินเอง หรือการเผลอพูดคำห ย า บที่อาจเป็นคำอุทาน
เมื่อลูกได้ยินบ่อย ๆ ก็อาจนำคำพูดที่คุณใช้บ่อย ๆ มาพูดได้ เป็นต้น
2.เข้มงวดกับลูกเกินพอดี
หากคุณใช้วิธีการเลี้ยงลูกแบบเข้มงวดมากเกินไป ก็อาจจะทำให้ลูกกลายเป็นเด็กขี้กลัว ไม่กล้าตัดสินใจอะไรเอง ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง เพราะอะไรที่มันมากเกินไปผลลัพธ์ที่ได้มักจะไม่ดีเสมอ
ดังนั้นถ้าไม่อยากให้ลูกกลายเป็นเด็กมีปัญหา ลองปล่อยให้ลูกได้มีความคิดในการตัดสินใจและได้ทำอะไรด้วยตัวเองดูบ้าง
3.ลงโทษลูกหนักเกินไป
เชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนอยากให้ลูกเติบโตมาเป็นคนที่ดีของสังคม เด็ก ๆ ควรได้รับการลงโทษเมื่อทำผิดเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว แต่วิธีการลงโทษ ก็ควรเหมาะสมกับความผิดของลูกด้วย เพราะ
บางครั้งลูกอาจทำผิดด้วยความไม่รู้ จึงไม่จำเป็นต้องลงโทษทุกครั้ง แต่เริ่มต้นลูกด้วยการตักเตือน อธิบายให้ลูกเข้าใจถึงความผิด และถ้าหลังจากนั้นลูกยังดื้อทำผิดซ้ำ ๆ ก็ควรหาวิธีลงโทษ
ลูกด้วยความเหมาะสมกับวัยหรือความผิด โดยหลีกเลี่ยงการใช้ความรุ น แ ร ง
4.ตามใจลูกมากเกินไป
ตามใจในที่นี้คือการปล่อยให้ลูกอยากทำอะไรก็ทำ โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าหากปล่อยลูกให้ทำแบบนี้เป็นสิ่งที่ไม่ดี ก็ยังตามใจลูกให้ทำและไม่สอนลูกในสิ่งที่ควรหรือไม่ควรทำ
โดยคิดว่าเมื่อโตขึ้นลูกจะเรียนรู้ถูกผิดได้เอง ซึ่งความคิดในการเลี้ยงลูกด้วยวิธีนี้เป็นสิ่งที่จะทำให้ลูกติดนิสัยไปจนโตได้ เพราะเด็กยังไม่รู้จักการแยกแยะด้วยตนเอง ดังนั้นพ่อแม่จึงไม่ควรปล่อยลูก
ให้หรือตามใจลูกจนเกินพอดี และควรจะเป็นฝ่ายที่สอนลูกก่อนจะสายเกินไป
5.เอาใจเกินพอดี
เอาใจเกินพอดีตอบสนองลูกด้วยการให้มากเกินไปทั้งวัตถุและสิ่งของ เพราะหวังจะให้ลูกมีความสุข แต่กลายเป็นว่าสิ่งที่พ่อแม่นั้น กลับส่งเสริมให้ลูกไม่รู้จักพอ ไม่รู้จักความยากลำบาก และการ
อดทนรอคอย ไม่ยอมรับกับความผิดหวัง ไม่เห็นคุณค่าของสิ่งที่ได้มา กลายเป็นเด็กเอาแต่ใจตัวเอง และสุดท้ายลูกก็จะไม่มองเห็นคุณค่าของคนอื่นด้วย การสปอยล์ลูกแบบนี้จะส่งผลให้ลูก
อยู่ยากในสังคมเมื่อเขาเติบโตขึ้น
6.ให้ท้ายลูก ให้อภัยลูกแบบผิด ๆ
คุณพ่อคุณแม่ควรเลิกคำพูดติดปากว่า ” เขายังเด็ก ” “อย่าถือสาเด็กเลย ” เพื่อปกป้องเวลาลูกทำผิดโดยไม่สนใจเหตุผล ควรสอนให้ลูกทราบถึงเหตุผลและยอมรับความจริง หากทำผิดต้อง
ขอโทษและไม่ทำผิดซ้ำอีก เพราะยิ่งถ้าสอนลูกตั้งแต่ยังเล็กจะง่ายกว่าสอนตอนเด็กโตแล้ว นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ควรพูดและปฏิบัติกับลูกในมาตรการที่ตรงกัน เพื่อไม่ให้เด็กเกิดความสับสน
อาการของเด็กเมื่อถูกสปอยล์มากเกินไป
– อารมณ์ร้อนเกรี้ยวกราดบ่อยครั้ง ลูกมักแสดงอาการฉุนเฉียว กรีดร้อง โ มโ หร้ า ยอยู่บ่อยครั้ง
-กระทืบเท้า ปิดประตูเสียงดัง ลูกมีอารมณ์โ มโ หร้ า ยอยู่บ่อยครั้ง ระบายอารมณ์ผ่านทางการทำล า ยข้าวของต่าง ๆ
– ต้องมีข้อแลกเปลี่ยนเสมอ เมื่อคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้ลูกทำอะไร มักสร้างเงื่อนไขเพื่อเป็นแรงจูงใจให้ลูกปฏิบัติตาม แต่หากทำบ่อยครั้งอาจไม่เป็นผลดีต่อเด็กค่ะ เพราะต้องสอนให้ลูกรู้จัก
หน้าที่ มีระเบียบวินัยและสิ่งที่ต้องทำ
– หวงของ ควรสอนให้รู้จักแบ่งปันสิ่งต่าง ๆ จะช่วยพัฒนาทักษะทางด้านอารมณ์และจิตใจ เอาแต่ใจจะค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับ
คำแนะนำ ที่ช่วยให้เลี้ยงดูเด็กแบบไม่ สปอยล์ลูก
กำหนดขอบเขตที่เหมาะสมกับวัยของลูกเพื่อให้เด็ก ๆ ใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มได้ตั้งแต่ในช่วงวัยเตาะแตะ
– กำหนดขอบเขตด้านความปลอดภัยภายนอก ตัวอย่างเช่น: “อย่าแตะต้องเตาร้อน” และ “อย่าวิ่งเข้าไปในถนน” ถ่ายทอดสิ่งที่เป็นที่ควรทำและไม่ควรทำ พูดคุยถึงเหตุผล บอกถึงปัญหาที่จะ
ตามมาหากทำสิ่งนั้น และ เสริมสร้างพฤติกรรมทางสังคมเชิงบวกในลักษณะเดียวกัน สั่งสอนลูกถึงสิ่งที่ควรปฏิบัติ เช่น กล่าวขอโทษและขอบคุณ หรือเล่นอย่างอ่อนโยนกับเพื่อน ควรหมั่นเสริม
สร้างพฤติกรรมเชิงบวกให้ลูก มากกว่าพฤติกรรมเชิงลบ
– พูดคุยกับลูกอย่างเปิดเผย และมีเหตุมีผล เกี่ยวกับพฤติกรรมเมื่อพวกเขาโตขึ้น “เด็กในวัยเรียนและวัยรุ่นสามารถเข้าใจคำพูดได้ดีกว่าเด็กเล็ก ดังนั้นให้พย ายามคิดพูดคุยปัญหาร่วมกัน เช่น
เมื่อลูกทำผิดให้คุณพ่อคุณแม่ถามลูกว่า “ทำไมลูกถึงทำเช่นนี้” เด็กอาจไม่สามารถบอกคุณได้ แต่ถ้าพูดว่า “พ่อ/แม่สงสัยว่าทำไมสิ่งนี้ถึงเกิดขึ้นอีก” คำถามปลายเปิดอาจทำให้ลูกรู้สึกสะดวกใจ
และเล่าให้ฟังอย่างไม่เกร็งได้ คำตอบของลูกในบางครั้งอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่แปลกใจก็เป็นได้
– อยู่ในความสงบ ระงับสติอารมณ์ เมื่ออารมณ์เสีย แม้แต่ผู้ใหญ่เองก็อาจแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีออกมา จะทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้สึกแย่และควบคุมตัวเองไม่ได้ (เหมือนเด็กนิสัยเสีย) และการแสดง
พฤติกรรมไม่ดีเหล่านี้ ไม่ได้สอนให้เด็กมีพฤติกรรมดีขึ้น แถมอาจทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบอีกด้วย
– คงเส้นคงวา เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกอย่างสม่ำเสมอ
– มีกฎระเบียบร่วมกันที่ดี เพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขครอบครัวคือจุดเริ่มต้นของสังคม จึงควรมีกฎที่อยู่ในข้อตกลงร่วมกัน เพื่อให้ลูกปฏิบัติตาม และแจ้งให้ทราบว่าถ้าลูกไม่ปฏิบัติตามจะมีผล
ตามมาสำหรับพฤติกรรมบางอย่าง เช่น ถ้าลูกเล่นของเล่นแล้วไม่เก็บ แม่จะเก็บของนี้แล้วไม่ให้เล่นอีกนะ หรือวางของเกะกะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ เป็นต้น สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับการปลูกฝังนิสัย
ที่ดีให้ลูก คือการเริ่มต้นแต่เนิ่น ๆ และทำอย่างสม่ำเสมอเพื่อกำหนดขีดจำกัด ทำความเข้าใจความต้องการด้านพัฒนาการของทารกและเด็กเล็ก อาจจะต้องใช้เวลาแต่จะเกิดผลดีต่อตัวเด็กในระยะยาว
แน่นอนว่าการเลี้ยงลูกด้วยวิธีแบบนี้ย่อมไม่ส่งผลดีทั้งต่อตัวลูกและพ่อแม่ การสปอยลูกมากเกินไปอาจทำให้เด็กโตขึ้นเห็นแต่ประโยชน์ของตนเองและไม่คำนึงถึงความรู้สึกของคนอื่นหรือประโยชน์
ของสังคมส่วนรวม ดังนั้น ถ้าพ่อแม่อยากเลี้ยงลูกแบบมีคุณภาพ ลองมองดูว่าตัวเองเข้าข่ายพฤติกรรมเหล่านี้หรือไม่ ควรหยุดสปอย์ลูกแบบไม่มีเหตุผล และหาวิธีเลี้ยงลูกอย่างถูกหลักก่อนที่
จะสายเกินแก้ และเพื่อให้ลูกได้เติบโตมาเป็นคนดี มีคนที่รัก อยู่ในสังคมที่เขาจะเติบโตขึ้นมาได้อย่างมีความสุขนะคะ
ขอบคุณที่มา : t h.t h e a s i a n p a r e n t.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น